ภาษีที่ดิน 2566 ต้องจ่ายเท่าไร? ใครที่ต้องจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง!
คำว่า “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งถูกเริ่มใช้เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมานี้เอง ในระยะเวลาที่ผ่านมามีการปรับลดอัตราภาษีที่ดินมาตลอดระยะเวลา 3-4 ปี จนเข้าปี 2566 อยากให้ทุกๆ คนจับตามองตัวภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ดี เพราะมีการเพิ่มขึ้นและลดลงในทุกๆเดือน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร?
ภาษีที่เก็บเป็นรายปีและคิดจากมูลค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่เราครอบครอง โดยมีองค์กรท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ จะเป็นผู้จัดเก็บภาษี
โดยผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินต้องมีเงื่อนไขดังนี้
1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน)
2. ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
หมายเหตุ ซึ่งกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 เป็นกฎหมายที่มาแทนที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับ ภาษีบำรุงท้องที่
ประเภทของภาษีที่ดิน 2566 แบ่งประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษี
1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม >> เพดานภาษีสูงสุด 0.15%
– สำหรับเจ้าของที่เป็นบุคคลธรรมดา หากมีที่ดินทำการเกษตร มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับยกเว้น ส่วน ที่ดินที่มูลค่าเกิน 50 ล้าน
จะได้รับยกเว้น 50 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ
– สำหรับเจ้าของที่เป็นนิติบุคคล ก็เสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ
2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย >> เพดานภาษีสูงสุด 0.30%
– สำหรับบ้านหลังหลัก เป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ถ้ามีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท
ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ
– สำหรับเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน (คอนโดมิเนียม หรือ สร้างบ้านอยู่บนที่ดินเช่า) จะได้รับ การยกเว้นภาษี 10ล้านบาทแรก
ส่วนที่เกินจะต้องเสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ
– สำหรับคนมีบ้าน 2 หลังขึ้นไป ไม่ว่าจะมีชื่อหรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ที่ดินหรือบ้านหลังที่ 2 จะต้องเสียภาษีที่ดินทั้งหมดไม่ได้รับการยกเว้น
3. ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม >> เพดานภาษีสูงสุด 1.20%
– หมายถึง ที่ดินอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและการอยู่อาศัยแต่มีสิ่งปลูกสร้าง เช่น โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ
โรงงาน หอพักรายวัน บ้านเช่ารายวัน โดยต้องเสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ
4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า >> เพดานสูงสุด 3%
– ถ้ามีที่ดินเปล่าแต่ปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ใดใด จะถูกจัดเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสียภาษีแพงที่สุด
– ถ้าปล่อยรกร้างไว้ติดต่อกันนานถึง 3 ปี ภายในปีที่ 4 จะถูกเก็บภาษีเพิ่มอีก 0.3% และจะเพิ่มอัตราภาษีอีก 0.3% ในทุก 3 ปีที่ ปล่อยที่ดินรกร้าง
แต่โดยรวมทั้งหมดแล้วจะเก็บภาษีได้ไม่เกิน 3%
– หากเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ได้รับมรดกมาจะได้ลดภาษีที่ดินได้อีก 50% จากภาษีที่ดินทั้งหมด
วิธีคำนวณ ภาษีที่ดิน 2566 และปรับลด ภาษีที่ดิน 15% ปี 2566
– มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
– มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) – ค่าเสื่อมราคา
– มูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)
1. ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง [ ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี ]
2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง [ ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี ]
3. ห้องชุด [ ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี ]
หากจ่ายภาษีช้า ต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่
- เบี้ยปรับ คือ ค่าปรับจากการที่ชำระภาษีไม่ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด
– ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด และได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ
– ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีตามเวลาที่แจ้งไว้ตามหนังสือแจ้งเตือนเสียเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ
– ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระกาษีก่อนจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ
- เงินเพิ่ม
– ดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระภาษีล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด
– คิดอัตรา 1% ต่อเดือนของจำนวนภาษีค้างชำระ (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน โดยไม่นำเบี้ยปรับมารวมคำนวน เพื่อเสียเงินเพิ่มด้วย
– เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีจนถึงวันที่ชำระภาษี
– เพดานสูงสุดไม่เกินจำนวนเงินกาษีที่จะชำระ (แต่ถ้าได้รับการขยายกำหนดเวลาชำระภาษี และชำระภาษีภายในกำหนดเวลานั้น
อัตราเงินเพิ่มจะลดลงเหลือ 0.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน)
- โทษทางอาญา
– การแจ้งข้อความเท็จ หรือการนำ พยานหลักฐานเท็จ มาแสดงเพื่อหลีกเสี่ยงภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องโดนเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม (หากเป็นกรณีที่ชำระภาษีล่าช้ากว่าที่กฎหมายกำหนด)
– เนื่องจากไม่ได้รับใบประเมินเรียกเก็บภาษี หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ขยาย หรือเลื่อนกำหนดเวลาในการชำระภาษีด้วยตนเอง
ผู้เสียภาษีไม่มีความผิด จึงไม่ต้องเสียภาษี
การขอเงินคืนภาษี
ในการณีที่คุณเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเกินกว่าจำนวนที่ต้องเสีย ไม่ว่าโดยความผิดพลาดหรือการประเมินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คุณมีสิทธิขอเงินคืนกาษีภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ชำระภาษีโดยยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่น
หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ประเมินผิดพลาด คุณสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตรา 1 % ต่อเดือน (เศษของเดือนปิดเป็นเดือน)
ของภาษีที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ยื่นคำขอรับคืนเงิน
City Plus Capital รับจำนองบ้าน จำนองที่ดิน สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
“ กู้ง่าย ได้เงินไว้ ใส่ใจทุกบริการ ”
มีที่ มีทุน จัดให้ครบ ที่ City Plus Capital
หลักทรัพย์ที่รับจำนอง ที่ดินเปล่า, ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง, ห้องชุด, อาคารเชิงพาณิชย์,
ดอกเบี้ยพิเศษ!! 12% ต่อปี ระยะเวลากู้ 5-10 ปี ผ่อนชำระแบบลดต้นลดดอก (ไม่เก็บดอกเบี้ยล่วงหน้า) ถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย
(ทั้งนี้บริษัทขอสงวนสิทธิ์ดุลยพินิจในการพิจารณาอนุมัติ)
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.citypluscapital.com
บริการให้คำปรึกษา ฟรี!!
LINE OA : @citypluscapital
โทร : 02-762-3888 / สายด่วน 098 528 9244