รู้จักการขายฝากที่ดิน แตกต่างจากจำนองอย่างไร?
ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองประกอบกับสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอน ทำให้หลายคนได้รับผลกระทบด้านการเงิน หากโชคดีมีอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด หรือทรัพย์อื่น ๆ ก็สามารถนำหลักทรัพย์เหล่านั้นมาแลกเงินก้อนในรูปแบบของการขายฝากที่ดินหรือการจำนองที่ดินได้ ซึ่งหลักการดำเนินการของการกู้เงินทั้งสองแบบมีความคล้ายคลึงกัน ทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่าการขายฝากที่ดินคืออะไร? แล้วจํานองกับขายฝากต่างกันอย่างไร? เราลองมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันในบทความนี้
การขายฝากที่ดินคืออะไร?
เป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการซื้อขายที่ดินให้กับผู้รับซื้อฝาก โดยการทำสัญญาเอกสารขายฝากที่ดิน และมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ขายฝากและได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับซื้อฝาก
อย่างไรก็ดี ในกรณีทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างที่ดิน คู่สัญญาจะต้องนำสัญญาขายฝากไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจด้วย การขายฝากที่ดินจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากผู้ขายฝากที่ดินไม่ได้ไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกันดังกล่าว ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืน โดยผู้รับซื้อฝากไม่ต้องไปใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาขายฝากอีก
ตัวอย่างการขายฝากที่ดิน
นายเอ มีความจำเป็นต้องขายที่นาจำนวน 1 ไร่ จึงตัดสินใจนำไปขายฝากกับผู้ใหญ่มา โดยมีข้อตกลงในสัญญาขายฝากที่ดินขณะว่า นายเอกจะต้องจ่ายดอกเบี้ยกับผู้ใหญ่มา จนกว่าจะสามารถไถ่คืนที่นาแปลงนี้ได้ใภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก นิติกรรมรูปแบบดังกล่าวเรียกว่า การขายฝากที่ดิน
การจำนองคืออะไร?
การนำอสังหาริมทรัพย์มาเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้จำนอง ผู้จำนองที่ต้องการทำธุรกรรมจำนอง ต้องไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อจดนิติกรรมสัญญาผู้รับจำนองกับคู่สัญญาผู้จำนองต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น แต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้จำนองอยู่ ซึ่งผู้จำนองสามารถทำประโยชน์หรือถือครองใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ
ตัวอย่างการจำนอง
นายหนึ่งต้องการใช้เงินจำนวน 3 ล้านบาท นายหนึ่งมีคอนโดอยู่หนึ่งห้องชุดซึ่งพักอาศัยเองและปลอดภาระแล้ว โดยคอนโดมีมูลค่า 10 ล้านบาท นายหนึ่งจึงติดต่อนำรายละเอียดต่าง ๆ ของทรัพย์ให้กับ นายสอง ซึ่งเป็นนายทุน ทั้งสองตกลงจะทำสัญญาจำนองห้องชุดกัน จึงได้นัดกันทำสัญญา ณ สำนักงานที่ดิน จดนิติกรรมถูกต้องซึ่งนายหนึ่งไม่ต้องโอนโฉนดห้องชุดนี้ให้กับนายสอง เพียงแต่จดนิติกรรมว่า นายสองได้เป็นผู้รับจำนอง ส่วนนายหนึ่งก็ใช้ประโยชน์ห้องชุดทรัพย์สินของตัวเองตามปกติ นิติกรรมรูปแบบดังกล่าวเรียกว่า การจำนอง
สรุปความแตกต่างระหว่างขายฝาก VS จํานอง
ใครที่ยังสับสนว่าขายฝาก กับจํานองต่างกันอย่างไร? เราสรุปมาให้แล้วดังตารางต่อไปนี้
|
การขายฝาก |
การจำนองที่ดิน |
สิทธิในการใช้ทรัพย์สิน | ต้องส่งมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ให้ผู้รับซื้อฝาก โดยผู้ขายฝากไม่สามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป จนกว่าจะมีการไถ่ทรัพย์สินคืน | ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ให้ผู้รับจำนอง โดยผู้จำนองสามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นได้ |
ระยะเวลาในการไถ่ถอน | อสังหาริมทรัพย์ กำหนดเวลาไถ่คืนได้ไม่เกิน 10 ปี และสังหาริมทรัพย์ กำหนดเวลาไถ่คืนได้ไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่เวลาขายฝาก | กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาสูงสุดของการจำนองไว้ สามารถชำระหนี้ได้จนกว่าจะครบยอดที่กำหนด |
วงเงินกู้ | ส่วนใหญ่จะได้วงเงินประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน | ส่วนใหญ่จะได้วงเงินประมาณ 10-30% ของราคาประเมิน |
อ่านมาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่าการจำนองและการขายฝากที่ดิน มีข้อที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิในการใช้ทรัพย์สิน ระยะเวลาการไถ่ถอน หรือวงเงินกู้ เมื่อเข้าใจข้อแตกต่างกันไปแล้ว ต่อไปนี้เพื่อน ๆ คนไหนจำเป็นต้องทำนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบจะสามารถเลือกทำสัญญาได้ตอบโจทย์ตนเองที่สุด แต่ไม่ว่าจะเลือกขายฝากที่ดินหรือจำนองที่ดิน ควรเลือกใช้บริการกับบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อสิทธิประโยชน์ของตัวเราเอง
City Plus Capital รับจำนองบ้าน จำนองที่ดิน
“ กู้ง่าย ได้เงินไว้ ใส่ใจทุกบริการ ”
จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว ที่ City Plus Capital
หลักทรัพย์ที่รับจำนอง บ้านพร้อมที่ดิน, ที่ดินเปล่า, ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง, ห้องชุด, อาคารเชิงพาณิชย์
ดอกเบี้ยเริ่มต้น เพียง!! 1.25% /เดือน ระยะเวลากู้ 5-10 ปี ผ่อนชำระแบบลดต้นลดดอก (ไม่เก็บดอกเบี้ยล่วงหน้า) ถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย
(ทั้งนี้บริษัทขอสงวนสิทธิดุลยพินิจในการพิจารณาอนุมัติ)
สนใจดูรายละเอียดได้ที่www.citypluscapital.com
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
LINE OA : @citypluscapital
โทร : 02-762-3888 / สายด่วน 098 528 9244