กฎหมาย EIA คืออะไร เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์อย่างไร?
กฎหมาย EIA หมายถึงกฎหมายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment) ซึ่งเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่มีเป้าหมายในการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาที่กำลังจะดำเนินการ โดยทั่วไปแล้วกฎหมาย EIA มักใช้กับโครงการที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญและ กระบวนการ EIA นั้นมีลักษณะเป็นขั้นตอนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบ เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการเข้าใจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและแนวทางการจัดการผลกระทบดังกล่าว
กฎหมาย EIA เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์โดยโครงการพัฒนาต่างๆ จะต้องผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกระบวนการ EIA โดยทั่วไปแล้วการมีรายงาน EIA ที่มีผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ดี จะช่วยให้โครงการได้รับการอนุญาตหรือการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น
EIA ศึกษาและวิเคราะห์ด้านใดบ้าง
การจัดทำ EIA ประกอบด้วยการศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน คือ
- ทรัพยากรทางกายภาพเป็นการศึกษาผลกระทบหลังก่อสร้างโครงการต่าง ๆ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
- ทรัพยากรชีวภาพการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่มีต่อระบบนิเวศ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น
- คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เป็นการศึกษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหมดในด้านกายภาพ และชีวภาพของมนุษย์
- คุณค่าต่อคุณภาพชีวิตจะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ ชุมชน สังคม ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงทัศนียภาพ คุณค่า และความสวยงาม
โครงการก่อสร้างที่ต้องยื่นขอ EIA มีอะไรบ้าง
– อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป หรือตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
– โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไป หรือมีเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่
– โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศที่มี 80 ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป
– อาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีจำนวนชุดหรือห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป
การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ผู้มีสิทธิทำรายงาน EIA ต้องขึ้นทะเบียนได้รับอนุญาตจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มีขั้นตอนดังนี้
-
-
- คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตทำรายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ “คชก. ผู้มีสิทธิ” เพื่อให้รายงานมีคุณภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ
- ผู้มีสิทธิทำรายงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้พัฒนาโครงการต้องทำการศึกษา วิเคราะห์ ประเมินผลกระทบ ตลอดจนกำหนดมาตรการป้องกันหรือลดผลกระทบจากโครงการ
- เสนอเล่มรายงานต่อหน่วยงานอนุญาต และสผ. ซึ่งพิจารณาโดยคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ “คชก. พิจารณารายงาน” ว่ามีความครบถ้วนและเป็นไปตามหลักวิชาการ
-
– หากเห็นชอบสามารถก่อสร้าง หรือดำเนินการได้
– หากไม่เห็นชอบต้องดำเนินการแก้ไข
หมายเหตุ : เมื่อพบว่าผู้ทำรายงานได้ดำเนินการหรือจัดทำรายงานที่ไม่มีคุณภาพ คชก.พิจารณาถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถร้องเรียนหรือแจ้งมายังสผ. เพื่อเข้าสู่กระบวนการโดย “คชก.ผู้มีสิทธิ”
มาตราการ “การกำกับดูแลที่กำหนด” และบทลงโทษ
– บันทึกเป็นข้อมูลเพื่อประกอบขอรับใบรอบต่อไป
– แจ้งกำชับ ตักเตือน
– แจ้งพักใช้ใบอนุญาต
– แจ้งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อดีของการทำ EIA มีอะไรบ้าง
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมโครงการคอนโดมิเนียมจะต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และมีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องทำ EIA
-
-
- ช่วยป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น หรือหาทางป้องกันผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนั้นให้น้อยที่สุด เพราะทรัพยากรธรรมชาติเมื่อถูกทำลายแล้วยากที่จะฟื้นคืนมาได้ หรือต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟู
- เป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการนั้นต่อหรือไม่ หากว่ามีผลกระทบหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมากเกินไป ผู้ประกอบการอาจจะตัดสินใจยกเลิกการดำเนินโครงการนั้น ๆ
- เพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ซื้อและผู้ลงทุน หากโครงการดังกล่าวผ่าน EIA แล้ว ก็สามารถดำเนินการได้อย่างมั่นใจ
-
โครงการไม่ผ่าน EIA จะต้องทำอย่างไร?
เมื่อเสนอรายงาน EIA ไปแล้ว แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบ ผู้ดำเนินการหรือผู้ที่ขออนุญาตจะต้องจัดทำรายการใหม่ โดยต้องปรับปรุงแก้ไขผัง รูปแบบอาคาร หรือมาตรการเกี่ยวกับการลดและป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายใน 180 วัน จากนั้นนำเสนอต่อคณะกรรมการฯ อีกครั้ง หากคณะกรรมการฯ เห็นว่าแก้ไขข้อบกพร่องจนสามารถลดผลกระทบดังกล่าวได้แล้ว ก็จะให้ความเห็นชอบ และสามารถดำเนินโครงการดังกล่าวได้ แต่หากว่าไม่แก้รายงานภายใน 180 วัน โครงการดังกล่าวจะไม่ได้รับความเห็นชอบโดยอัตโนมัติ
สำหรับเจ้าของโครงการและผู้ซื้อสามารถตรวจสอบสถานะโครงการที่ผ่าน EIA แล้วได้ที่ http://eia.onep.go.th หากเจ้าของโครงการไม่เห็นด้วยกับคณะกรรมการฯ สามารถนำคดียื่นต่อศาลปกครองได้ภายใน 90 วัน
หลังจากที่โครงการได้รับความเห็นชอบและเปิดโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าของโครงการจะต้องดำเนินการส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมปีละ 2 ครั้ง ในเดือนกรกฎาคม และเดือนมกราคมของปีถัดไป หากไม่ดำเนินการส่งรายงานฯ จะต้องโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี
City Plus Capital รับจำนองบ้าน จำนองที่ดิน สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
“ กู้ง่าย ได้เงินไว้ ใส่ใจทุกบริการ ”
มีที่ มีทุน จัดให้ครบ ที่ City Plus Capital
หลักทรัพย์ที่รับจำนอง ที่ดินเปล่า, ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง, ห้องชุด, อาคารเชิงพาณิชย์,
ดอกเบี้ยพิเศษ!! 12% ต่อปี ระยะเวลากู้ 5-10 ปี ผ่อนชำระแบบลดต้นลดดอก (ไม่เก็บดอกเบี้ยล่วงหน้า) ถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย
(ทั้งนี้บริษัทขอสงวนสิทธิ์ดุลยพินิจในการพิจารณาอนุมัติ)
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.citypluscapital.com
บริการให้คำปรึกษา ฟรี!!
LINE OA : @citypluscapital
โทร : 02-762-3888 / สายด่วน 098 528 9244