รวมเรื่องควรรู้ก่อนทำสัญญาจำนอง
เมื่อพูดถึงการจำนอง องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ สัญญาจำนอง วันนี้ ซิตี้ พลัส แคปปิตอล ขอหยิบยกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับสัญญาจำนองมาฝาก มาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กันว่าสัญญาจำนองคืออะไร? ทรัพย์สินอะไรบ้างที่สามารถนำมาทำสัญญาจำนองได้? รวมทั้งสิ่งที่ควรมีในสัญญาจำนองต้องมีอะไรบ้าง?
สัญญาจำนองคืออะไร?
สัญญาจำนอง คือ สัญญาเงินกู้รูปแบบหนึ่งที่จัดทำขึ้นเมื่อมีการนำเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ หรือที่เราเรียกว่า การจำนอง ไม่ว่าจะเป็นการจำนองที่ดิน การจำนองบ้าน หรือการจำนองทรัพย์สินสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ โดยผู้ที่นำทรัพย์สินมาทำสัญญาจำนองได้ จะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน และทำสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินพร้อมจ่ายค่าจดจํานอง
ทรัพย์สินที่ใช้ทำสัญญาจำนอง
ทรัพย์สินที่สามารถนำมาทำสัญญาจำนองได้ ได้แก่
- อสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด เช่น โฉนดที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม สิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น
- สังหาริมทรัพย์บางประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมายและเฉพาะสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้ เรือมีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป แพ สัตว์พาหนะ และสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ ส่วนสังหาริมทรัพย์ทั่วไป เช่น รถยนต์ นาฬิกา ทอง เครื่องประดับ ไม่สามารถจำนองได้
รายละเอียดในสัญญาจำนอง
ก่อนทำสัญญาจำนอง ต้องตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาให้ครบถ้วน โดยรายละเอียดที่ควรมีในสัญญาจำนอง ได้แก่
- รายละเอียดทรัพย์ที่นำมาจำนอง
- วันเดือนปีที่ทำสัญญาจำนอง
- ชื่อผู้ทำสัญญาทั้งผู้จำนองและผู้รับจำนองชัดเจน
- ข้อตกลงในสัญญา เช่น จำนวนเงินที่กู้ อัตราดอกเบี้ย กำหนดชำระหนี้ เป็นต้น
- ชื่อผู้ถือโฉนดที่ดินระหว่างการจำนอง
- ลายเซ็นผู้จำนอง ผู้รับจำนอง พยาน เจ้าพนักงานที่ดิน ผู้เขียนสัญญา และผู้ตรวจสัญญา
อายุความสัญญาจำนอง
สัญญาจำนองไม่มีอายุความตามกฎหมาย เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้ (ผู้รับจำนอง) และลูกหนี้ (ผู้จำนอง) ที่มีการระบุระยะเวลาชำระหนี้ และรายละเอียดหากมีการผิดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งหากเจ้าหนี้ไม่ได้รับการชำระหนี้ ก็สามารถดำเนินเรื่องฟ้องกับศาลเพื่อบังคับจำนองได้
ความระงับแห่งสัญญาจำนอง
สัญญาจำนองระงับได้เมื่อใด? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ได้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับความระงับแห่งสัญญาจำนองไว้ 6 กรณี ซึ่งหากไม่เข้า 6 กรณีดังต่อไปนี้ถือว่า สัญญาจำนองไม่ระงับ
- เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความ
- เมื่อปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ
- เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น
- เมื่อถอนจำนอง
- เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งของศาล
- เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุด หรือการที่กรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินตกมาเป็นของเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้
ผลของสัญญาจำนอง
- ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ
- ผู้รับจำนองมีสิทธิเรียกเอาทรัพย์สินที่จำนองนั้นหลุดมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ในกรณีที่
- ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง 5 ปี
- ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ
- ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง
- ถ้าบังคับจำนองเอาทรัพย์สินมาขายทอดตลาดแล้วได้เงินเท่าใด ให้นำเงินดังกล่าวชำระหนี้คืนให้แก่ผู้รับจำนอง หากมีเงินเหลือให้ส่งคืนผู้จำนอง โดยผู้รับจำนองจะเก็บไว้เองไม่ได้
- ถ้าบังคับจำนองเอาทรัพย์สินมาขายทอดตลาดแล้วได้เงินน้อยกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบเงินที่ขาดนั้น
เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลเรื่องสัญญาจำนองที่เรานำมาฝากกัน แม้จะไม่ได้มีความอายุความ ไม่มีความยุ่งยากด้านกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้จำนองไม่ควรละเลย ควรทำความเข้าใจและอ่านรายละเอียดข้อตกลงให้ถี่ถ้วนก่อนทำสัญญาทุกครั้ง เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง หากสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับการจำนองอสังหาริมทรัพย์สามารถติดตามได้ที่นี่ หรือหากต้องการเงินด่วน ให้นึกถึง City Plus Capital ยื่นกู้ง่าย อนุมัติไว ได้เงินทันใจแน่นอน
City Plus Capital รับจำนองบ้าน จำนองที่ดิน สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
“ กู้ง่าย ได้เงินไว้ ใส่ใจทุกบริการ ”
มีที่ มีทุน จัดให้ครบ ที่ City Plus Capital
หลักทรัพย์ที่รับจำนอง ที่ดินเปล่า, ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง, ห้องชุด, อาคารเชิงพาณิชย์,
ดอกเบี้ยพิเศษ!! 12% ต่อปี ระยะเวลากู้ 5-10 ปี ผ่อนชำระแบบลดต้นลดดอก (ไม่เก็บดอกเบี้ยล่วงหน้า) ถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย
(ทั้งนี้บริษัทขอสงวนสิทธิ์ดุลยพินิจในการพิจารณาอนุมัติ)
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.citypluscapital.com
บริการให้คำปรึกษา ฟรี!!
LINE OA : @citypluscapital
โทร : 02-762-3888 / สายด่วน 098 528 9244