City Plus Capital
ทำความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ใครบ้างที่ต้องจ่าย
>
>
ทำความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ใครบ้างที่ต้องจ่าย
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ทำความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ใครบ้างที่ต้องจ่าย

ใครที่เป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง รู้หรือยังว่ามีภาษีสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียด้วยนะ แล้วภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีกี่ประเภท เป็นเจ้าของที่ดินแบบนี้ต้องเสียภาษีแบบไหน อัตราภาษีจำนวนนั้นมีวิธีคำนวณอย่างไร วันนี้เรารวบรวมเอาเรื่องราวเหล่านี้มาบอกกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร 

ภาษีที่ดิน ภาษีสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีรายปีที่คิดจากมูลค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่มีเจ้าของ และผู้ครอบครองต้องเสียให้กับองค์กรท้องถิ่น เช่น อบต. หากไม่ทำการเสียภาษีตามเวลาที่กำหนดมีโทษและค่าปรับที่ต้องรับตามกฎหมายและหากไม่เสียภาษีที่ดินอย่างถูกต้องอาจจะส่งผลเสียในอนาคตด้วย

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

สำหรับคนที่ต้องเสียภาษีที่ดิน หรือภาษีสิ่งปลูกสร้าง คือ

  • เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ดูตามโฉนดไม่เกี่ยวกับทะเบียนบ้าน
  • ผู้ครอบครองหรือผู้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างประเภทไหนที่ต้องเสีย 

สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษีที่ดินนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. ที่ดิน
  2. สิ่งปลูกสร้าง 
  3. สิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุดหรือคอนโด 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีกี่ประเภท

สำหรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นตามกฎหมายภาษีที่ดินปี 2566 มีอยู่ 4 ประเภท คือ

ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย 

ภาษีที่ดินเพื่ออยู่อาศัยนี้ เพดานการเสียภาษีสูงสุด 0.30% เจ้าของบ้านเป็นบุคคลธรรมดา มีชื่อในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท และถ้าเกิน ต้องเสียภาษีในส่วนที่เกิน ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังแรกหรือบ้านหลังที่ 2 ส่วนเจ้าของที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างจะได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก ส่วนเกินก็จะเสียภาษีตามอัตราปกติ

  1. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
  • ที่ดินมูลค่าไม่ถึง 25 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 25 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50 ล้านขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท
  1. สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
  • ที่ดินมูลค่า ไม่ถึง 40 ล้านบาท อัตรา 0.02% หรือล้านละ 200 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 40 – 65 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 65 – 90 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 90 ล้านขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท
  1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยกรณีอื่นนอกจากการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2
  • ที่ดินมูลค่า ไม่ถึง 50 ล้านบาท อัตรา 0.02% หรือล้านละ 200 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75 – 100 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 ล้านขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีกี่ประเภท

ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ที่ดินที่มีจุดประสงค์เพื่อการทำการเกษตรเสียภาษีสูงสุด 0.15% สำหรับบุคคลธรรมดามูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทได้รับการยกเว้น ส่วนเกินต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด และสำหรับผู้ครอบครองที่เป็นนิติบุคคลจะเสียภาษีที่ดินตามอัตราปกติ

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.01% หรือล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 – 500 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 500 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.07% หรือล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

ที่ดินรกร้างว่างเปล่า 

ที่ดินรกร้างนี้จะมีเพดานการเสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 3% ถ้าเป็นที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ เลย กลับเป็นที่ดินประเภทที่เสียภาษีที่ดินมากที่สุดยิ่งถ้าปล่อยให้เป็นที่ดินรกร้างเกิน 3 ปี ในปีที่ 4 จะมีการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 0.3% และเพิ่มขึ้นทุกๆ 3 ปี

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50 – 200 ล้านบาท อัตรา 0.4% หรือล้านละ 4,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 200 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.5% หรือล้านละ 5,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตรา 0.6% หรือล้านละ 6,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.7% หรือล้านละ 7,000 บาท

ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม

สำหรับที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรมที่ต้องเสียภาษีนั้นจะมีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 1.20% คือที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรหรือการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นที่ดินที่สร้างโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร หอพัก ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกปี

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท อัตรา 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50 – 200 ล้านบาท อัตรา 0.4% หรือล้านละ 4,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 200 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.5% หรือล้านละ 5,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตรา 0.6% หรือล้านละ 6,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.7% หรือล้านละ 7,000 บาท

วิธีคิดค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

สำหรับวิธีการคำนวณภาษีจะคำนวณตามประเภทของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้ง 3 ประเภท คือ

1. ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี

2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน+มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี

3. ห้องชุด

ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด  x อัตราภาษี

– มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน

– มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) – ค่าเสื่อมราคา

– มูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.) 

ไม่จ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีโทษอะไรบ้าง

อย่างที่บอกว่าหากไม่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีการเสียค่าปรับตามกฎหมาย และยังอาจส่งผลต่อการทำสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอนาคตได้ โดยที่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียนั้นแบ่งตามระยะเวลาที่ล่าช้า คือ 

  • ชำระภาษีก่อนจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนภาษีค้างชำระ
  • ชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนภาษีค้างชำระ
  • ชำระภาษีภายหลังจากวันที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนภาษีค้างชำระ 
  • ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มอีก 1% ต่อเดือนของจำนวนภาษีค้างชำระ เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน 
  • กรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษี และได้ชำระภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น ให้คิดเงินลดลงเหลือ 0.5% ต่อเดือน หรือเศษของเดือน 
  • เบี้ยปรับอาจงดได้ในกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมาย โดยเราจะต้องยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อของดเบี้ยปรับของภาษีที่ค้างชำระ

ไม่จ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีโทษอะไรบ้าง

สรุปบทความ

และนี่คือเรื่องราวของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เอามาฝากกัน ใครที่มีที่ดินรกร้างว่างเปล่าในครอบครองต้องรู้แล้วว่าจะเสียภาษีสูงกว่าที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างเสียอีก เรื่องเกี่ยวกับภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีที่ดินหรือภาษีประเภทอื่นๆ มีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจค่อนข้างมาก ดังนั้นต้องหาข้อมูลเก็บเอาไว้แล้วปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ยิ่งใครที่ต้องการทำสินเชื่อบ้านแลกเงินหรือสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ยิ่งมองข้ามภาษีที่ดินไม่ได้เลย ไม่เช่นนั้นการเดินหน้าทำธุรกรรมอาจจะสะดุดและไม่อนุมัติได้เลย

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart