จำนอง และ ขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร?
จำนอง VS ขายฝาก คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร
ในภาวะสถานการณ์ช่วงนี้ภาพรวมเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะดีนัก ประกอบกับสถานการณ์ของการเมืองที่ไม่แน่นอน ทำให้หลายคนอาจกระทบจากภาวะสถานการณ์ที่เศรษฐกิจฝืดเคือง หลายคนโชคดีมีอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด หรือทรัพย์อื่นๆที่สามารถนำมาขอกู้เงินกับสถานบันการเงินธนาคารต่างๆหรือจำนองกันแบบทำกับนายทุนทั่วๆไป ก็ถือว่าสามารถนำอสังหาริมทรัพย์นี้มาเป็นประกันการกู้ยืมเงินได้ง่าย เพราะว่าอย่างน้อยสถานบันการเงินหรือนายทุนทั่วๆไปก็ยังจะพิจารณาในเงินกู้กับผู้จำนองหรือลูกหนี้ได้ง่ายๆ เนื่องจากถ้าผู้จำนองหรือลูกหนี้ไม่ชำระเงินตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ ทางฝั่งของผู้รับจำนองหรือนายทุนก็จะสามารถฟ้องศาลร้องบังคับคดีเอาทรัพย์นั้นไปขายทอดตลาดแล้วหักเงินส่วนที่ยังคงค้างอยู่พร้อมทั้งค่าใช้จ่ายในการฟ้องได้ ส่วนสำหรับคนที่ไม่มีอสังหาริมทรัพย์ละจะทำอย่างไรดี? เราดูกันว่าจริงๆแล้วการทำสัญญากู้ยืมเงินนั้นมีอยู่ 2 แบบที่นิยมทำกันโดยอาจจะเข้าใจผิดสับสนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างเราลองมาทำความเข้าใจเบี้องต้นเกี่ยวกับการกู้เงินทั้งสองแบบ
จำนอง คืออะไร?
คือ การนำอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด หรือทรัพย์สินอื่นๆที่เป็น ทรัพย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ และใช้เป็นหลักประกัน เขาเรียกว่าทรัพย์สินนั้นๆว่า อสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้จำนองง ผู้จำนองที่ต้องการทำธรุกรรมจำนอง ต้องไปที่สำนักงานที่ดินไปจดนิติกรรมสัญญาผู้รับจำนองกับคู่สัญญาผู้จำนองต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น แต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้จำนองอยู่ ซึ่งผู้จำนองสามารถทำประโยชน์หรือถือครองใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ
ยกตัวอย่างการจำนอง นายหนึ่งต้องการใช้เงินจำนวน 3 ล้านบาท นายหนึ่งมีคอนโดอยู่หนึ่งห้องชุดซึ่งพักอาศัยเองคอนโดมีมูลค่า 10 ล้านบาทซึ่งปลอดภาระแล้ว นายหนึ่งจึงติดต่อนำรายละเอียดต่างๆของทรัพย์ให้กับ นายสองซึ่งเป็นนายทุน ทั้งสองตกลงจะทำสัญญาจำนองห้องชุดกัน จึงได้นัดกันทำสัญญา ณ สำนักงานที่ดิน จดนิติกรรมถูกต้องซึ่ง นายหนึ่งไม่ต้องโอนโฉนดห้องชุดนี้ให้กับนายสองนายทุน เพียงแต่จดนิติกรรมว่า นายสองได้เป็นรับจำนอง ส่วนนายหนึ่งก็ใช้ประโยชน์ห้องชุดทรัพย์สินของตัวเองตามปกติ นี้เป็นเพียงตัวอย่างง่ายๆในเห็นภาพกันนะคะว่า การทำธุรกรรมการจดจำนอง อสังหาริมทรัพย์ เป็นอย่างไร
การขายฝาก คืออะไร?
เป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการขายทรัพย์สิน ทั้งที่เป็นทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภท สังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ เป็นต้น ให้กับผู้รับซื้อฝาก โดยการทำสัญญาเอกสารขายฝากที่ดิน และมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ขายฝากและได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับซื้อฝาก
อย่างไรก็ดี ในกรณีทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาจะต้องนำสัญญาขายฝากไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจด้วย การขายฝากจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากผู้ขายฝากไม่ได้ไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกันดังกล่าว ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืน โดยผู้รับซื้อฝากไม่ต้องไปใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาขายฝากอีก
สรุป จากเนื้อหาข้างบน จะเห็นได้ว่า การจำนองและการขายฝาก มีข้อที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นหลักประกัน การส่งมอบทรัพย์สินเพื่อประกันการชำระหนี้ เพียงแต่สินทรัพย์ที่ใช้มีความแตกต่างกันออกไปเล็กน้อย ก็คือ การจำนองจะใช้สินทรัพย์ที่เป็น “อสังหาริมทรัพย์” หรือทรัพย์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ส่วนการจำนำจะใช้สินทรัพย์ที่เป็น“สังหาริมทรัพย์” หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้นั้นเอง และหวังว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจกันแล้วนะคะว่าการจำนองและการการขายฝากต่างกันอย่างไรบ้าง
City Plus Capital รับจำนองบ้าน จำนองที่ดิน
“ กู้ง่าย ได้เงินไว้ ใส่ใจทุกบริการ ”
จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว ที่ City Plus Capital
หลักทรัพย์ที่รับจำนอง บ้านพร้อมที่ดิน, ที่ดินเปล่า, ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง, ห้องชุด, อาคารเชิงพาณิชย์
ดอกเบี้ยเริ่มต้น เพียง!! 1.25% /เดือน ระยะเวลากู้ 5-10 ปี ผ่อนชำระแบบลดต้นลดดอก (ไม่เก็บดอกเบี้ยล่วงหน้า) ถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย
(ทั้งนี้บริษัทขอสงวนสิทธิดุลยพินิจในการพิจารณาอนุมัติ)
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.citypluscapital.com
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
LINE OA : @citypluscapital
โทร : 02-762-3888 / สายด่วน 098 528 9244